Installation guide (ไทย)
นี่คือคู่มือแนะนำการติดตั้ง Arch Linux โดยใช้ installation image อย่างเป็นทางการ
ก่อนการติดตั้ง เราแนะนำให้คุณอ่าน คำถามที่พบบ่อย และ Help:Reading สำหรับแบบแผนต่าง ๆ ที่เอกสารนี้ใช้ โดยเฉพาะที่ว่า ตัวอย่างโค้ดอาจมี placeholders (สังเกตได้จากการใช้ ตัวเอียง
) ซึ่งใช้แทนค่าจริงที่คุณต้องใส่เอง และถ้าคุณกำลังมองหาวิธีการติดตั้งแบบละเอียด ลองไปดูที่ Getting and installing Arch
คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความในวิกิหรืออ่าน man page ของโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งในเอกสารนี้มีการลิงค์ไปยังบทความเหล่านั้น สำหรับความช่วยเหลือเชิงโต้ตอบ คุณสามารถใช้ ช่อง IRC และ กระดานข่าว ได้
Arch Linux ควรที่จะทำงานได้บนเครื่องที่ใช้ชุดคำสั่ง x86-64 โดยมี RAM อย่างน้อย 512 MiB อย่างไรก็ตามระบบอาจต้องการ RAM มากกว่านั้นในการบู๊ตเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการ โดยการติดตั้งโดยทั่วไปจะใช้พื้นที่ไม่เกิน 2 GiB
การติดตั้งจำเป็นต้องดึงแพ็คเกจมาจากอินเทอร์เน็ต ดังนั้นคุณต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้
ก่อนเริ่มติดตั้ง
ดาวน์โหลด image
ไปยังหน้าดาวน์โหลด และดาวน์โหลดไฟล์ ISO หรือ netboot พร้อมกับ GnuPG signature ของไฟล์
ตรวจสอบ signature
เราแนะนำให้คุณตรวจสอบ signature ของไฟล์ที่คุณได้ดาวน์โหลดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์มาจาก HTTP mirror ซึ่งการดาวน์โหลดมีแนวโน้มที่จะถูกดักเพื่อแพร่กระจายไฟล์ที่ถูกดัดแปลงด้วยความประสงค์ร้าย
บนระบบที่ได้มีการติดตั้ง GnuPG ไว้แล้ว ดาวน์โหลด PGP signature (อยู่ในหน้าดาวน์โหลดด้านล่างคำว่า Checksums) ไว้ในไดเรกทอรีเดียวกับไฟล์ ISO ที่ดาวน์โหลดมา แล้วตรวจสอบ signature นั้นได้โดยใช้คำสั่ง:
$ gpg --keyserver-options auto-key-retrieve --verify archlinux-version-x86_64.iso.sig
หรือ บนระบบ Arch Linux คุณสามารถใช้คำสั่ง:
$ pacman-key -v archlinux-version-x86_64.iso.sig
เตรียมสื่อกลางการติดตั้ง
การจัดเตรียม image ในการติดตั้ง Arch Linux บนเครื่องที่ต้องการ สามารถทำได้โดยใช้ แฟลชไดร์ฟ USB, แผ่นเก็บข้อมูล หรือผ่านเครือข่ายด้วย PXE ปฏิบัติตามขั้นตอนในบทความของสื่อกลางที่คุณต้องการ แล้วไปสู่ขั้นตอนต่อไป
บู๊ตเข้าสู่ live environment
- ชี้ boot device ไปยังอุปกรณ์ที่มีสื่อกลางการติดตั้ง Arch Linux ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้โดยการกดคีย์ตามที่แสดงบนหน้าจอในเฟส POST สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ลองดูคู่มือ motherboard ของคุณ
- เมื่อหน้า boot loader ของสื่อกลางการติดตั้งปรากฏขึ้นแล้ว เลือก สื่อกลางการติดตั้ง Arch Linux และกด
Enter
เพื่อบู๊ตเข้าสู่ environment สำหรับการติดตั้งTip: image สำหรับการติดตั้งใช้ systemd-boot สำหรับการบู๊ตในโหมด UEFI และ syslinux สำหรับการบู๊ตในโหมด BIOS สำหรับพารามิเตอร์การบู๊ต ลองอ้างอิงถึง README.bootparams - คุณจะถูกเข้าสู่ระบบในคอนโซลเสมือนในฐานะของผู้ใช้งาน root และพบกับ shell prompt Zsh
สำหรับการเปลี่ยนไปยังคอนโซลอื่น เช่น การเปลี่ยนคอนโซลเพื่อดูคู่มือนี้โดยใช้ Lynx ไปควบคู่กับการติดตั้งนั้น สามารถทำได้โดยการใช้คีย์ลัด Alt+ลูกศร
และในการแก้ไขไฟล์การตั้งค่าต่าง ๆ ในระบบมี mcedit(1), nano และ vim ติดตั้งไว้ให้แล้ว ลองดู packages.x86_64 สำหรับรายการของแพ็คเกจที่มีให้ในสื่อกลางการติดตั้ง
ตั้งค่าเลย์เอาต์ของคีย์บอร์ด
เลย์เอาต์เริ่มต้นของคีย์บอร์ดคือ US แต่คุณสามารถเพิ่มเลย์เอาต์ที่ต้องการได้โดยใช้คำสั่ง loadkeys keymap_file
: ซึ่งอยู่ใน /usr/share/kbd/keymaps/
(ไม่ต้องระบุ path และนามสกุลไฟล์ก็ได้)
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ปกติคุณจะใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยอัตโนมัติผ่าน DHCP discovery หลังบู๊ตสื่อการติดตั้งอยู่แล้ว (ถ้าเป็นการเชื่อมต่อแบบใช้สาย) แต่ถ้าใช้เครือข่ายแบบไร้สาย คุณต้องเรียกใช้โปรแกรม wifi-menu
เพื่อตั้งค่าเครือข่ายก่อน; อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ การตั้งค่าเครือข่ายไร้สาย และถ้าคุณต้องการใช้ static IP หรือใช้เครื่องมือจัดการเครือข่ายอื่น คุณต้องหยุดใช้ DHCP ด้วยคำสั่ง systemctl stop dhcpcd@eth0.service
แล้วค่อยทำตามวิธีในหน้า Netctl
อัพเดตเวลาของระบบ
อ่าน systemd-timesyncd
แบ่งพาร์ทิชั่นของดิสก์
อ่านรายละเอียดที่หน้า การแบ่งพาร์ทิชั่น; คุณอาจต้องสร้างพาร์ทิชั่นพิเศษขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ลองอ่านหน้า EFI System Partition[broken link: invalid section] และ GRUB BIOS boot partition และถ้าคุณต้องการใช้ stacked block devices สำหรับ LVM, การเข้ารหัสดิสก์ หรือ RAID ก็ให้ทำในขั้นตอนนี้ด้วย
ฟอร์แมตพาร์ทิชั่น
อ่าน ระบบไฟล์ และ Swap สำหรับรายละเอียดและวิธีการ
Mount พาร์ทิชั่น
Mount พาร์ทิชั่น root ที่ /mnt
หลังจากนั้นให้สร้างและ mount ไดเร็คทอรี่อื่น ๆ (ถ้ามี) (เช่น /mnt/boot
, /mnt/home
, ...) จากนั้นให้เปิดใช้พาร์ทิชั่น swap ถ้าต้องการให้ genfstab มองเห็น
การติดตั้ง
เลือก mirror
แก้ไข /etc/pacman.d/mirrorlist
และเลือก download mirror ที่ต้องการ เราแนะนำให้ใช้ mirror ในท้องถิ่นจะเร็วที่สุด; ลองอ่านรายละเอียดที่หน้า Mirrors เนื่องจากการตั้งค่าในไฟล์ mirrorlist
จะถูกนำไปใช้ในระบบใหม่ด้วยเมื่อคุณใช้สคริปต์ pacstrap เราแนะนำให้คุณตั้งค่า mirror ให้ถูกต้องเลยในขั้นตอนนี้เพิ่มความสะดวก
หมายเหตุ: mirror ที่ใช้ได้ดีในประเทศไทย เช่น ของม.เกษตรศาสตร์
ติดตั้งแพคเกจพื้นฐาน
ใช้สคริปต์ pacstrap เพื่อติดตั้งโปรแกรมจากกลุ่ม base:
# pacstrap /mnt base
ถ้าต้องการติดตั้งแพคเกจหรือกลุ่มแพคเกจอื่น ให้เพิ่มชื่อที่ต้องการติดตั้งต่อท้ายไปในคำสั่งด้านบนโดยเว้นช่องไฟระหว่างแต่ละชื่อ
ตั้งค่าระบบ
สร้าง fstab (ใช้ตัวเลือก -U
หรือ -L
ถ้าต้องการใช้ UUID หรือ label ในไฟล์):
# genfstab -p /mnt >> /mnt/etc/fstab
Change root เข้าไปในรากของระบบใหม่:
# arch-chroot /mnt
ตั้ง ชื่อเครื่อง:
# echo computer_name > /etc/hostname
ตั้ง โซนเวลา:
# ln -s /usr/share/zoneinfo/zone/subzone /etc/localtime
เปิดใช้ locales ที่ต้องการใน /etc/locale.gen
จากนั้นก็สร้าง locale โดยใช้คำสั่ง:
# locale-gen
ตั้ง locale เริ่มต้นใน /etc/locale.conf
และ $HOME/.config/locale.conf
:
# echo LANG=your_locale > /etc/locale.conf
เพิ่ม keymap และ font[broken link: invalid section] สำหรับคอนโซลใน /etc/vconsole.conf
ตั้งค่าเครือข่ายสำหรับเครื่องใหม่: อ่านหน้า การตั้งค่าเครือข่าย และ การตั้งค่าเครือข่ายแบบไร้สาย
ตั้งค่า /etc/mkinitcpio.conf เพิ่มเติมถ้าต้องการ จากนั้นสร้าง RAM disk ใหม่ด้วยคำสั่ง:
# mkinitcpio -p linux
กำหนดรหัสผ่านสำหรับผู้ใช้ root:
# passwd
ติดตั้งบู๊ตโหลดเดอร์
อ่านหน้า บู๊ตโหลดเดอร์ เพื่อดูวิธีการติดตั้งและการตั้งค่า
รีบู๊ตเครื่อง
ออกจาก chroot โดยพิมพ์ exit
หรือกดปุ่ม Ctrl+D
Unmount พาร์ทิชั่นทั้งหมดด้วยคำสั่ง umount -R /mnt
: ขั้นตอนนี้จะทำให้คุณพบพาร์ทิชั่นที่ยังถูกใช้งานอยู่และไม่สามารถ unmount ได้ จะได้หาสาเหตุได้โดยใช้ fuser
สุดท้ายให้รีบู๊ตเครื่องโดยพิมพ์คำสั่ง reboot
: พาร์ทิชั่นที่ยังถูก mount อยู่จะถูก systemd ปลดออกโดยอัตโนมัติ อย่าลืมดึงแผ่นซีดีหรือสื่อที่คุณใช้ในการบู๊ตเพื่อติดตั้งออกหลังรีบู๊ตด้วย หลังรีบู๊ตเสร็จ คุณสามารถล็อกอินด้วยผู้ใช้ root
หลังการติดตั้ง
ลองอ่าน คำแนะนำทั่วไป สำหรับวิธีการจัดการระบบและสิ่งที่คุณอาจอยากทำหลังติดตั้งเสร็จ (เช่น การติดตั้ง graphical user interface, เสียง, หรือ touchpad)
นอกจากนั้นยังมีแอพพลิเคชั่นอีกมากมายที่คุณอาจสนใจ ลองดูที่ รายชื่อแอพพลิเคชั่น